โรคกล้วยไม้ที่สำคัญ
โรคกล้วยไม้ที่สำคัญลักษณะอาการการแพร่ระบาดและการป้องกันกำจัด
1.โรคเน่าดำโรคยอดเน่าหรือโรคเน่าเข้าไส้ (Black rot)
ลักษณะอาการ
เกิดได้ทุกส่วนของกล้วยไม้เกือบทุกสกุลสามารถสังเกตsอาการของโรคได้ดังนี้
- ราก : เป็นแผลสีดำเน่าแห้งยุบตัวลงหรือรากเน่าแห้งแฟบต่อมาเชื้อจะลุกลามเข้าไปในต้น
- ต้น : เชื้อราเข้าทำลายได้ทั้งทางยอดและโคนต้นทำให้ยอดเน่าดำถ้าทำลายโคนต้นใบจะเหลืองและหลุดร่วงจนหมดเรียกว่าโรคแก้ผ้า
- ใบ : เป็นจุดใสชุ่มน้ำสีเหลืองต่อมาสีเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแล้วเป็นสีดำในที่สุดในสภาพที่มีความชื้นสูงแผลจะขยายใหญ่ลุกลามอย่างรวดเร็ว เชื้อราจะสร้างเส้นใยสีขาวละเอียดบนแผลเน่าดำนั้น
- ก้านช่อดอก : เป็นแผลเน่าดำลุกลามจนก้านช่อดอกหักพับ
- ดอก : เป็นจุดแผลสีดำมีสีเหลืองล้อมรอบแผลนั้นกรณีที่เป็นกับดอกตูมขนาดเล็กดอกจะเน่าแล้วหลุดจากก้านช่อ
การแพร่ระบาด
โรคนี้แพร่ได้ง่ายเนื่องจากสปอร์ของเชื้อราจะกระเด็นไปกับน้ำในระหว่างการรดน้ำมักระบาดในฤดูฝนโดยกระเด็นไปกับน้ำฝน
การป้องกันกำจัด
- อย่าปลูกกล้วยไม้แน่นจนเกินไป
- ถ้าพบโรคนี้ในระยะลูกกล้วยไม้ให้แยกออกถ้าเป็นกับต้นกล้วยไม้ที่โตให้เผาทำลาย
- ไม่ควรให้น้ำกล้วยไม้ตอนเย็นใกล้ค่ำ โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวเพราะจะทำให้เกิดสภาพอากาศเย็นความชื้นสูงซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อนี้ โรคจะแพร่ระบาดรุนแรงได้ง่ายขึ้น
- ในกรณีที่ปลูกกล้วยไม้บนพื้นดินเหนียวควรรองพื้นด้วยขี้เถ้าแกลบก่อนปูด้วยกาบมะพร้าวเพื่อช่วยระบายน้ำและช่วยป้องกันไม่ให้โรคนี้ทำลายกล้วยไม้ในระยะแรก
2. โรคดอกสนิมหรือจุดสนิม (Flower rusty spot)
ลักษณะอาการ
เป็นโรคที่พบมากในกล้วยไม้สกุลหวายโดยจะเกิดเป็นจุดขนาดเล็กสีเหลืองอมน้ำตาลบนกลีบดอกเมื่อจุดขยายโตขึ้นจะมีสีเข้มคล้ายสีของสนิม
การแพร่ระบาด
โรคจะระบาดอย่างรวดเร็วถ้ามีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานานๆหรือมีน้ำค้างลงจัด
การป้องกันกำจัด
- เก็บดอกกล้วยไม้ทั้งที่ร่วงและเป็นโรคเผาทำลาย
- น้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ที่ไม่ใช่น้ำประปาควรผ่านการฆ่าเชื้อด้วยผงคลอรีนอัตรา5 กรัมต่อน้ำ400 ลิตร แล้วปล่องทิ้งค้างคืนจนหมดกลิ่นจึงนำไปใช้
- การใช้ปุ๋ยในระยะออกดอกควรใช้ปุ๋ยที่มีโพแทสเซียมสูงเพื่อเพิ่มความต้านทานต่อโรคหรือลดความรุนแรงของโรค
3. โรคใบปื้นเหลือง (Yellow leaf spot)
ลักษณะอาการ
เกิดจุดกลมสีเหลืองที่ใบบริเวณโคนต้น ถ้าอาการรุนแรงจุดเหล่านี้จะขยายติดต่อกันเป็นปื้นสีเหลืองตามแนวยาวของใบ เมื่อพบดูด้านหลังใบจะพบกลุ่มผงสีดำ ในที่สุดใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและหลุดร่วงจากต้น
การแพร่ระบาด
โรคนี้แพร่ระบาดมากช่วงปลายฤดูฝน จนถึงฤดูหนาว โดยสปร์จะปลิวไปตามลม หรือกระเด็นไปกับละอองน้ำที่ใช้รดต้นกล้วยไม้
การป้องกันกำจัด
- เก็บรวบรวมใบที่เป็นโรค เผาทำลาย
4. โรคใบจุด หรือโรคใบขี้กลาก (Leaf Spot)
ลักษณะอาการ
- กล้วยไม้สกุลแวนด้า มีลักษณะแผลเป็นรูปยาวรีคล้ายกระสวย ถ้าเป็นมาก แผลจะรวมกันเป็นแผ่น บริเวณตรงกลางแผลจะมีตุ่มนูนสีน้ำตาลดำ ลูบจะรู้สึกสากมือ ชาวสวนจึงเรียกโรคนี้ว่า โรคขี้กลาก
- กล้วยไม้สกุลหวาย มีลักษณะแผลเป็นจุดกลมสีน้ำตาลเข้ม หรือดำ ขอบแผลมีสีน้ำตาลอ่อน แผลมีขนาดเท่าปลายเข็มหมุด จนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 1 เซนติเมตร บางครั้งแผลจะบุ๋มลึกลงไป หรืออาจนูนขึ้นมาเล็กน้อย หรือเป็นสะเก็ดสีดำเกิดขึ้นได้ทั้งด้านบน และ ใต้ใบ บางครั้งอาจมีอาการเป็นจุดกลมสีเหลือง เห็นได้ชัดเจนก่อน แล้วจึงค่อยๆเปลี่ยนเป็นจุดสีดำทั้งวงกลม
การแพร่ระบาด
แพร่ระบาดได้ตลอดปี สำหรับกล้วยไม้สกุลแวนด้า ระบาดมากในช่วงปลายฤดูฝน จนถึงฤดูหนาว โดยสปอร์ของเชื้อรา ปลิวไปตามลม หรือกระเด็นไปกับน้ำ
การป้องกันกำจัด
- รวบรวมใบที่เป็นโรคเผาทำลาย
5. โรคเน่า (Rot)
ลักษณะอาการ
เริ่มแรกเป็นจุดฉ่ำน้ำบนใบหรือหน่ออ่อน จากนั้นแผลจะเริ่มขยายขนาดขึ้น และเนื้อเยื่อมีลักษณะเหมือนถูกน้ำร้อนลวก ใบจะพองเป็นสีน้ำตาล ขอบแผลมีสีเหลืองเห็นได้ชัดเจน ภายใน 2-3 วัน เนื้อเยื่อใบจะโปร่งแสง มองเห็นเส้นใบ ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้กล้วยไม้เน่ายุบตายทั้งต้น
การแพร่ระบาด
ในสภาพอากาศร้อนและความชื้นสูง โรคจะแพร่ระบาดอย่างรุนแรงและรวดเร็ว
การป้องกัน
- เก็บรวบรวมส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย
- ควรปลูกกล้วยไม้ในโรงเรือนหรือใต้หลังคาพลาสติก ถ้ามีโรคเน่าระบาดให้งดการให้น้ำระยะหนึ่ง อาการเน่าจะแห้ง ไม่ลุกลามหรือระบาด
6. โรคไวรัส (Virus)
ลักษณะอาการ
อาการที่ปรากฏแตกต่างกันไปตามชนิดของเชื้อไวรัส และชนิดของกล้วยไม้ บางครั้งกล้วยไม้ที่มีเชื้อไวรัสอยู่อาจจะแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการออกมาให้ปรากฏก็ได้ ลักษณะอาการที่มักพบบ่อยๆมีดังนี้
1. ลักษณะใบด่าง ตามแนวยาวของใบ มีสีเขียวอ่อนผสมสีเขียวเข้ม
2. ยอดบิด ช่วงข้อจะถี่สั้นแคระแกร็น
3. ช่อดอกสั้น กลีบดอกบิด เนื้อเยื่อหน่าแข็งกระด้าง บางครั้งกลีบดอกจะมีสีซีดตรงโคนกลีบ หรือ ดอกด่างซีด ขนาดเล็กลง
การแพร่ระบาด
เชื้อไวรัสแพร่ระบาดได้ง่ายโดยติดไปกับเครื่องใช้ต่างๆ เช่น มีด กรรไกร ที่ใช้ตัดหน่อเพื่อขยายพันธุ์ หรือใช้ตัดดอกและตัดแต่งต้น
การป้องกันกำจัด
1. ถ้าพบต้นกล้วยไม้อาการผิดปกติดังกล่าว ใหเแยกออกแล้วนำไปเผาทำลาย อย่านำไปขยายพันธุ์
2. ทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ทุกครั้งที่มีการตัดแยกหน่อ หรือดอก โดยจุ่มในน้ำสบู่ น้ำผงซักฟอกทุกครั้งเพื่อฆ่าเชื้อก่อน
3. ควรดูแลรักษาต้นกล้วยไม้ให้สมบูรณ์อยู่เสมอ
4. ควรตรวจสอบพันธุ์กล้วยไม้ก่อนนำไปขยายพันธุ์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
- โรคราเมล็ดผักกาด (Stem rot)
สาเหตุ เชื้อรา Sclerotium rolfsii Sacc.
ลักษณะอาการ
เชื้อราจะเข้าทำลายกล้วยไม้บริเวณราก หรือโคนต้น บริเวณที่ถูกทำลายจะเป็นสีเหลืองและน้ำตาล ตามลำดับ เนื้อเยื่อจะผุเปื่อย ถ้าอากาศชื้นมากๆ จะมีเส้นใยสีขาวแผ่ปกคลุมบริเวณโคนต้น พร้อมกับมีเมล็ดกลมๆขนาดเล็กสีเหลืองอมน้ำตาล คล้ายเมล็ดผักกาดเกาะอยู่ตามโคนต้น
การแพร่ระบาด
ทำความเสียหายมากในฤดูฝน เชื้อราจะแพร่กระจายไปกับลมและน้ำ
การป้องกันกำจัด
ตรวจดูแปลงอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบต้นที่เป็นโรคให้เก็บรวบรวมแล้วเผาทำลาย
พ่น ไวตาแวกซ์ หรือ คูเลเตอร์ สารคาร์บอกซิน 75% อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน/ครั้ง
การใช้สารป้องกันกำจัดโรคที่สำคัญของกล้วยไม้
โรค |
สารป้องกันกำจัดโรค (ชื่อสามัญ) |
อัตราการใช้ / น้ำ 20 ลิตร |
วิธีการใช้ |
โรคเน่าดำ/ โรคยอดเน่า/ โรคเน่าเข้าไส้ |
ฟอสฟอรัสแอซิด 30-50 มิลลิลิตร อีทริไดอะโซล 20 กรัม เมทาแลกซิล 40 กรัม ฟอสเอทธิล-อะลูมิเนียม 25-50 กรัม
|
ควรพ่นในช่วงที่แดดไม่จัด ไม่ควรผสมกับปุ๋ยและสารเคมีอื่นๆ ควรพ่นสลับกับสารเคมีอื่น อัตราต่ำ ใช้ป้องกันโรค /อัตราสูงใช้กำจัดโรค ไม่ควรใช้ผสมกับปุ๋ยใดๆ |
|
โรคดอกสนิม/ โรคดอกจุด |
แมนโครเซบ 30 กรัม |
ควรพ่นให้ทั่วและควรผสมสารเสริมประสิทธิภาพ |
|
โรคใบปื้นเหลือง |
คาร์เบนดาซิม 20 กรัม แมนโครเซบ 30 กรัม เบโนมิล 6-8 กรัม |
ควรพ่นสารให้ถูกกับพื้นที่ผิวใบ ใบที่มีสปอร์ และปรับหัวพ่นเพื่อให้ทั่วทั้งบนใบและใต้ใบ ควรพ่นสารอื่นสลับกันเพื่อป้องกันการต้านทานสารเคมี |
|
ใบจุด/ ใบขี้กลาก
โรคเน่า |
คาร์เบนดาซิม 20 กรัม แมนโครเซบ 30 กรัม สเตรปโตมัยซิน 10 กรัม ออกซิเตตตระไซครินโปรเคน เพนนิซิลิน-จี คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 20 กรัม |
ระยะเวลาในการพ่นสาร ขึ้นอยู่กับความรุนแรง และการระบาด ห้ามใช้ในอัตราที่เข้มข้นมากกว่าที่กำหนด หรือใช้ติดต่อกันเกิน 2 ครั้ง ควรสลับด้วยสารในกลุ่มสัมผ้ส |
|
โรคไวรัส |
ผงซักฟอก 400 กรัม |
ทำควรสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ทุกครั้งที่มีการตัดแยกหน่อ หรือดอก โดยการจุ่มในสารละลายผงซักฟอก |
อ้างอิง:Thai Orchids Magazine